รหัสสินค้า : FIRE DC-10
เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ขนาด 10 ปอนด์
รหัสสินค้า : FIRE DC-10
ขนาดถังดับเพลิง : 13.7 x 13.7 x 51 ซม.
น้ำหนักของเคมี : 10.6 กก.
น้ำหนักถัง : 3 กก.
สีถังดับเพลิง : สีแดง
รู้จักประเภทของไฟ
ไฟเกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่างด้วยกันคือ เชื้อเพลิง (Fuel) ความร้อน (Heat) และออกซิเจน หากต้องการจะดับไฟก็ต้องทำให้องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งหายไปหรือไม่เพียงพอกับการเผาไหม้ ซึ่งประเภทของการเกิดไฟมี 5 ประเภท ได้แก่
- ไฟประเภท A (Ordinary Combustibles) ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย มักพบได้ตามได้อาคารและที่พักอาศัยทั่วไป เช่น ผ้า กระดาษ ขยะ พลาสติก เป็นต้น เพลิงไหม้ประเภทนี้สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่าได้
- ไฟประเภท B (Flammable Liquids) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าซ และก๊าซไวไฟ เช่น บูเทน (Butane) หรือ โพรเพน (Propane) โดยเชื้อเพลิงเหล่านี้พบได้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ไปจนถึงการผลิตสีบางชนิด เชื้อเพลิงประเภท B จะสามารถลุกไหม้ได้นานเมื่อมีออกซิเจนอยู่รอบๆ การดับเพลิงไหม้ประเภทนี้จึงต้องกำจัดออกซิเจนโดยรอบออก
- ไฟประเภท C (Electrical Equipment) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ ไฟที่มักเกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจนทำให้เกิดความร้อนสูง เช่น มอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อมีการชำรุดเสียหายอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ประเภท C ได้ การดับเพลิงไหม้ประเภทนี้ควรต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับไฟ
- ไฟประเภท D (Combustible Metals) ไฟที่เกิดจากโลหะติดไฟง่าย เช่น อะลูมิเนียม แมกนีเซียม ไทเทนียม โพแทสเซียม ฯลฯ เป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง ไปจนถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโลหะเหล่านี้ โดยเพลิงไหม้ประเภทนี้ไม่สามารถดับด้วยน้ำเปล่าได้
- ไฟประเภท K (Combustible Cooking) ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงน้ำมันที่ใช้ในการทำอาหาร เช่น น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ และไขมันสัตว์ ไปจนถึงของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในครัวเรือนและร้านอาหาร
ทำความเข้าใจประเภทถังดับเพลิง
แม้ถังดับเพลิงจะมีหน้าตาคล้าย ๆ กัน แต่การใช้งานก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว โดยถังดับเพลิงแบ่งออกตามการใช้งานเป็น 6 ประเภท ดังนี้
- ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers) ถังดับเพลิงสีแดง ด้านในบรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจน น้ำยาที่ฉีดออกมามีลักษณะเป็นละออง สามารถดับเพลิงได้ทุกชนิด เหมาะสำหรับดับไฟประเภท A B และ C ติดตั้งได้ทั้งในบ้าน อาคาร และโรงงานต่าง ๆ
- ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide (CO2) Extinguishers) ถังดับเพลิงสีแดงเหมือนกับประเภทแรก แตกต่างที่ปลายสายฉีดมีลักษณะเป็นกรวยหรือกระบอก ด้านในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อฉีดออกมาจะมีลักษณะเป็นไอเย็น ช่วยลดความร้อนและดับไฟได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับการติดตั้งในโรงงานขนาดใหญ่ สำหรับดับไฟประเภท B และ C
- ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย HCFC-123 (Halotron Extinguishers) ด้านในบรรจุสารเคมีเหลว เมื่อฉีดออกมาจะเป็นไอระเหย เหมาะสำหรับดับไฟประเภท A B C และ K
- ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม (Foam Extinguishers) ด้านในบบรจุโฟมเข้มข้น เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมสีขาว ใช้ดับไฟได้ทั้งประเภท A และ B
- ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers) ด้านในบรรจุน้ำยาเหลวระเหย ซึ่งมีคุณสมบัติมีความเย็นจัด ช่วยลดความร้อนได้ดี โดยเฉพาะไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นวัตถุของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า พลาสติก หรือกระดาษ เหมาะสำหรับใช้ดับไฟในอาคารและบ้านทั่วไป
- ถังดับเพลิงชนิด BF2000 ด้านในบรรจุน้ำยาประเภทสารเหลวระเหยชนิด BF 2000 ที่ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับใช้ดับไฟประเภท A, B, C และ D
ขั้นตอนใช้ถังดับเพลิง
- ดึงสลักนิรภัยปลดล็อกออกจากวาล์วที่หัวถัง ซึ่งจะมีกระดูกงูล็อกอยู่ หากดึงไม่ออกให้บิดแล้วค่อยดึงสลักออก
- ปลดสายฉีดออกจากตัวถังดับเพลิงโดยจับปลายสายฉีกแล้วดึงออกมาจะง่ายกว่าดึงออกจากโคนสาย
- จับปลายสายให้แน่น และหันหัวฉีดไปยังต้นตอของเพลิง แล้วค่อย ๆ กดคันฉีดให้สารในถังดับเพลิงออกมาดับไฟ
- ยืนห่างประมาณ 2-4 เมตร แล้วฉีดสารเคมีไปยังฐานของต้นเพลิง พร้อมกับส่ายหัวฉีดไป-มาจนเปลวไฟดับสนิท